27 กุมภาพันธ์ 2554

บัตรใหม่เมเจอร์ ดูหนังถี่เหมือนตีกอล์ฟ

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป พยายามนำกลยุทธ CRM มาใช้ นับตั้งแต่เปิดตัวบัตร M Cash เมื่อเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้อะไรมากกว่าการเก็บเงินล่วงหน้าจากยอดขายบัตรเติมเงินสดซื้อตั๋ว หนังผ่านตู้เท่านั้น จนกระทั่งมาถึงบัตร M Generation แทนที่จะเรียก CRM แต่ขอเรียกเก๋ไปกว่านั้นว่า Customer Empower Program เพราะเป็น CRM เจาะลึกพฤติกรรมลูกค้าและนำผลไปเพิ่มมูลค่าธุรกิจได้ในอนาคต

วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด บอกถึงแรงบันดาลใจของบัตร M Geneneration ว่า “เป็นไอเดียจากบัตรเครดิต แต่ M Generation เป็นเหมือนบัตรเครดิตภาคบันเทิง ผมรู้จักกับเจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่นร้านหนึ่งเปิดมา 6 เดือน เงียบมาก แต่พอมีแบงค์หนึ่งติดต่อเข้ามา ตกลงเรื่องโปรแกรมส่วนลด 35% เขาก็โตเร็วเลย ตอนนี้มี 4-5 สาขาแล้ว แสดงว่าบัตรเครดิตใช้เพิ่มยอดขายได้ชัดเจน”

บัตรนี้ไม่มีวันหมดอายุ แต่แต้มที่สะสมมีอายุ 12 เดือน บัตร M Generation แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามกลุ่มลูกค้า คือ บัตรสำหรับลูกค้าทั่วไปราคา 100 บาท รับ 100 แต้ม และบัตรสำหรับนักเรียน นักศึกษา ราคา 50 บาท รับ 50 แต้ม โดยทุกค่าใช้จ่าย 20 บาท รับคะแนนสะสม 1 แต้ม โดย 1 แต้มมีมูลค่า 1 บาท สามารถนำมาใช้แทนเงินสดได้ที่เมเจอร์ฯ

วิชาตั้งเป้าได้บัตรนี้ 1 ล้านใบ ซึ่งเขามองว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงมากเนื่องจากปัจจุบันฐานลูกค้าเฉพาะบัตร นักเรียน นักศึกษา มีอยู่แล้ว 500,000 ใบ

นั่นหมายความว่า Core Target ของบัตรนี้ คือ กลุ่มลูกค้าเดิมของเมเจอร์ฯ อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าบัตรนี้จะช่วยตีแตกตัวตนพวกเขาได้มากขึ้น

“จากเดิมที่ทำการตลาดแบบกระจาย ก็จะเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เพราะเรารู้พฤติกรรมการดูหนังของเขาว่าชอบดูช่วงเวลาไหน ชอบมากับกลุ่มเพื่อนหรือครอบครัว ชอบดูหนังประเภทไหนและเราจะสื่อสาร เพื่อกระตุ้นให้เขาอยากดูหนังเรื่องนั้นๆ ได้อย่างไรบ้าง รวมถึงพฤติกรรมการเล่นโบว์ลิ่ง และร้องคาราโอเกะ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความถี่ในการดูหนังของลูกค้าให้มากขึ้น”

โฉมหน้าใหม่ของโรงภาพยนตร์เมืองไทยกำลังจะเกิดขึ้น กับการ Tailor Made จากการวัดพฤติกรรมการดูหนังแบบคร่าวๆ ว่า โรงหนังย่านชานเมืองจะต้องมีพากย์ไทยมากกว่าพากย์อังกฤษ จะเจาะลึกถึงลูกค้าเฉพาะบุคคล และจะทำให้เกิดโรงหนังที่แยกฉายตามประเภทหนัง เช่น โรงหนังผี โรงหนังดราม่า โรงหนังตลก โรงหนังแอคชั่น โรงหนังแอนิเมชั่น เป็นต้น

โดยเมเจอร์ฯ ลงทุนซอฟต์แวร์ของระบบ CRM นี้ไปร่วม 100 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมา ก่อนพร้อมที่จะเปิดตัวใช้งานได้ในต้นปี 2554 นี้

“ในช่วง 6 เดือนแรกทำแบบไม่ Aggressive เก็บข้อมูล ดูพฤติกรรมไปเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ทำให้คนดูหนังต่อเนื่องเหมือนตีกอล์ฟ ถ้าเขาหายไปนานก็มียาแรงอัดให้”

แม้ปีนี้จะไม่ได้เน้นการขยายสาขาในปี 2554 นี้ แต่วิชาบอกว่า อย่างต่ำๆ ก็จะมีสาขาใหม่ 10 สาขา โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เน้นเปิดกับเทสโก้ โลตัส บิ๊กซี และเซ็นทรัล ส่วนคาร์ฟูร์ที่ไม่เคยมีโรงหนังมาก่อนนั้น หลังอยู่ใต้ร่มบิ๊กซี อาจจะเป็นอีกโอกาสหนึ่งของเมเจอร์ฯ ในการขยายสาขาอย่างก้าวกระโดดในอนาคต

ที่สุดแล้ว M Generation อาจทำให้ฝันของวิชาที่มานานมากกว่าครึ่งทศวรรษกับการทำโรงหนังแยกประเภทกลายเป็นจริงได้ในไม่ช้านี้

สัดส่วนลูกค้าเมเจอร์ฯ
วัยทำงาน80%
นักเรียน นักศึกษา20%

สัดส่วนรายได้เมเจอร์ฯ
ค่าโฆษณา10%
โบว์ลิ่ง10%
รีเทล ค่าเช่าพื้นที่10%
ตั๋วหนัง ขนมและเครื่องดื่ม70%


from http://is.gd/sdSmgY


23 กุมภาพันธ์ 2554

ลงทุนให้มีความสุข

มีผู้สอบถามมากมายว่า เคล็ดลับการลงทุนให้มีความสุขคืออะไร ดิฉันขอรวบรวมมาจากประสบการณ์ ทั้งของตัวเองและที่เห็นตัวอย่างจากผู้อื่น

เพื่อนำมาแบ่งปัน หากท่านผู้อ่านมีเคล็ดลับอื่นก็สามารถส่งมาได้นะคะ


การจะลงทุนให้มีความสุขต้อง เริ่มต้นด้วยการออม เพื่อนำเงินมาลงทุน มีมาก ออมมาก มีน้อย ออมน้อย แต่ต้องมีเงินของตัวเองมาลงทุนค่ะ ในการลงทุน ผู้ลงทุนต้องไม่ลงทุนเกินตัว คือ ไม่กู้ยืมมาลงทุน เพราะหากการลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เกิดเหตุพลิกผัน เงินลงทุนก็อาจจะไม่ได้คืน เงินใช้คืนหนี้ก็ไม่มี อย่างนี้ ไม่มีความสุขแน่ๆ


นอกจากนี้ ต้องจัดสรรการลงทุนให้ดี ท่านอาจเคยได้อ่านหรือฟังดิฉันบรรยายเรื่อง “จัดพอร์ตดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” เป็นเรื่องจริงค่ะ จากการศึกษาพบว่า พอร์ตการลงทุนที่มีการจัดไว้ดี มีการกระจายการลงทุนให้สอดคล้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน และมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสถานการณ์การลงทุนในแต่ละช่วง จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม ผู้ลงทุนพอใจและมีความสุข


ผลตอบแทนส่วนใหญ่ของการลงทุน ส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 80-90% มาจากการจัดพอร์ตไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ส่วนการคัดเลือกตราสารหรือหลักทรัพย์ ได้ถูกตัว ถูกเวลานั้น มีสัดส่วนประมาณ 10-20% ในการทำให้ผลตอบแทนดีเพิ่มขึ้น หรือแย่ลง


สำหรับการติดตามผลการลงทุนนั้น แนะนำให้ติดตามเป็นระยะๆ ไม่ควรติดตามใกล้ชิด เป็นรายชั่วโมง หรือแม้กระทั่งรายวัน ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงผู้ที่ลงทุนเป็นอาชีพ หรือมีอาชีพจัดการลงทุนนะคะ ถ้าเป็นสองกลุ่มนี้ อย่างไรเขาก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็ต้องรีบวิเคราะห์ว่าจะเกิดผลกระทบต่อกลุ่มสินทรัพย์ หลักทรัพย์ หรือตราสารแต่ละตัวอย่างไร


การติดตามแต่ไม่ตามติด จะทำให้ผู้ลงทุนไม่กังวลกับการลงทุนมากจนเกินไป และจะทำให้มีความสุขมากขึ้น ดิฉันเองก็เคยค่ะ ตั้งใจว่าจะลงทุน หรือจะขายทำกำไรในวันนั้นๆ แต่เผอิญงานยุ่ง หมดเวลาซื้อขายไป ไม่มีเวลาส่งคำสั่งลงทุน มาเห็นราคาปิดในวันรุ่งขึ้น รู้สึกดีใจที่ไม่มีเวลาส่งคำสั่งในวันก่อน เพราะสั่งซื้อวันนี้ ซื้อได้ราคาถูกกว่า หรือขายได้ราคาสูงกว่าถ้าส่งคำสั่งเมื่อวานนี้ เป็นต้น


การลงทุน นอกจากจะเป็นเรื่องของความรู้ การตัดสินใจ และจังหวะเวลา แล้ว ยังเป็นเรื่องของ “ดวง” หรือโชคชะตา ด้วย บางคนอาจพบว่า ไม่มีดวงทางหุ้น หรือไม่มีดวงทางอสังหาริมทรัพย์เสียเลยจริงๆ หากค้นพบว่า “ดวง” ของเราไม่ถูกกับหลักทรัพย์หรือตราสารนั้นๆ แนะให้แก้ด้วยวิธีลงทุนในกองทุนรวมค่ะ ใช้วิธีไปอาศัยฝีมือของผู้จัดการกองทุน และดวงของผู้ลงทุนคนอื่นๆ รวมกัน อย่างมากดวงของเราก็เพียงทำให้เราเข้า-ออกไม่ถูกจังหวะนิดหน่อย หรือถ้าอยากจะหมดปัญหาเรื่องจังหวะเข้า-ออก แนะนำให้ใช้บริการของกองทุนส่วนบุคคล ให้ผู้จัดการกองทุนเขาหาจังหวะ เข้า-ออก ในการลงทุนให้ด้วย


เทคนิคการลงทุนให้มีความสุขอีกประการหนึ่ง คือ การ “ทำใจ” ค่ะ ไม่ปวดหัวและกังวลใจเกินไปกับการลงทุน และดีใจแต่พอควรเมื่อได้กำไร และไม่เสียใจมากเมื่อขาดทุนเมื่อลงทุนได้ผลตอบแทนมาแล้ว ก็นำผลตอบแทนนั้นมาจัดแบ่ง จะนำไปใช้จ่าย นำไปเที่ยวพักผ่อน หรือจะนำไปลงทุนต่อ รอไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุงาน ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เมื่อลงทุน และความต้องการของเรา เมื่อจัดแบ่งการลงทุนดี เงินลงทุนแต่ละก้อน จะถูกจัดไว้เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน จึงไม่จำเป็นว่าทุกๆ คน ต้องนำกำไรจากการลงทุนไปลงทุนต่อ การจัดสรรเงินกำไรหรือผลตอบแทนจากการลงทุน จึงสามารถแบ่งได้หลายลักษณะ


1. นำไปลงทุนต่อ เพื่อให้ความมั่งคั่งพอกพูนขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ยังมีความมั่งคั่งไม่สูง หรือผู้ที่ยังอายุน้อย เพราะควรจะอดเปรี้ยวไว้กินหวานค่ะ


2. แบ่งมาใช้ส่วนหนึ่ง นำไปลงทุนต่ออีกส่วนหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่มีความมั่งคั่งโดยรวมพอสมควร ส่วนที่แบ่งไปใช้นี้ ดิฉันเรียกว่า เป็นรางวัลที่สามารถให้กับตัวเอง หรือกับคนอื่นๆ ได้อย่างหนึ่ง ส่วนจะแบ่งมาใช้มาก หรือแบ่งลงทุนต่อมาก ก็แล้วแต่สถานการณ์และความจำเป็นค่ะ และการลงทุนต่อนั้นก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์เดิม อาจจัดลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสม หรือจัดสัดส่วนใหม่ได้


3. นำผลตอบแทนทั้งหมดมาใช้ ได้กำไรมากก็ใช้มาก ได้กำไรน้อยก็ใช้น้อย ขาดทุนก็รอไปก่อน แบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เกษียณอายุงานแล้ว หรือผู้ที่มีความมั่งคั่งโดยรวมสูง หรือมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว การใช้ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้เพื่อตัวเองนะคะ สามารถใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือเพื่อผู้อื่นที่เห็นเหมาะสมได้

เท่านี้ การลงทุนก็มีความสุขแล้วค่ะ อาจจะทั้งสุขกายและสุขใจ

from http://bit.ly/f5KnWS


19 กุมภาพันธ์ 2554

18 กุมภาพันธ์ 2554

How to: Connect to an Oracle Database Using ODP.NET

Objective

After reading this how-to document you should be able to:

Prerequisite

The reader is assumed to be familiar with MS Visual Studio.NET, and also possess an understanding of the rudimentaries of ODP.NET and databases.

Introduction

ODP.NET, which is included in the Oracle.DataAccesss.dll assembly, provides a rich collection of classes that assist in easy database interaction. It uses Oracle's native APIs to offer fast and reliable access to Oracle data and features from any .NET application.
In this how-to we'll look at how to use the OracleConnection class, provided by ODP.NET, to establish a connection to an Oracle database and interact with the database. Here, we'll use a small code fragment to demonstrate how to connect to an Oracle database using ODP.NET.
Further, connection pooling is enabled in ODP.NET (by default). So we'll also look at how you can control the connection pooling parameters provided by ODP.NET.
Requirements

Description

When you install ODP.NET, the Oracle Universal Installer automatically registers ODP.NET with the Global Assembly Cache (GAC). The GAC in the .NET framework provides a central place for registering assemblies. These assemblies once registered are then available to all applications for usage, including the development environments like Visual Studio.NET.
The most important class with respect to this how-to is the OracleConnection class. An OracleConnection object represents a connection to an Oracle database. In this how-to we will demonstrate how to connect to an Oracle database and list names of all the employees and their employee number present in a table. Alternatively, you may use any database user account that has connect and resource privileges to connect to the Oracle database.
Prior to connecting to an Oracle Database using ODP.NET, one should add Net Service Names. Specifying the Net Service Names also known as TNS alias is used to identify an Oracle Database Instance.
Add Net Service Names
ODP.NET uses Net Service Names to identify the data source (database) it connects to. The Oracle Net Configuration Assistant Tool, a post installation tool that configures basic network components, can be used to setup the Net Service Names. Please refer to the Oracle9i Net Services Administrator's Guide available at OTN for the details on using this tool to setup the Net Services Names.

Create Required Database Table
To create the required "emptab" table, follow the instructions given below:
  1. Start SQL*Plus.
  2. Connect to the Oracle database using the desired username, password and connect string. Ensure to use the same parameters later, in your ODP.NET ConnectionString.
  3. Paste the following SQL script (Listing 1) on the SQL> prompt:
    Listing 1
    DROP TABLE emptab;
    CREATE TABLE emptab (empno NUMBER(4) PRIMARY KEY, ename VARCHAR2(10));
    INSERT INTO emptab VALUES ( 1, 'Mark');
    INSERT INTO emptab VALUES ( 2, 'Roger');
    INSERT INTO emptab VALUES ( 3, 'Crook');
    COMMIT;

Code Walk-Through
Include Required Namespaces: It is worthwhile to add references of the namespaces in the 'general declarations' section of the .cs or .vb file, to avoid qualifying their usage later in the script:
C#
using System;

using System.Data;
using Oracle.DataAccess.Client;
Visual Basic .NET
Imports System
Imports System.Data
Imports Oracle.DataAccess.Client
1. Set the connection parameters like the User Id, Password and Data Source:
C#

// Create the connection object
OracleConnection con = new OracleConnection();
  
// Specify the connect string
// NOTE: Modify User Id, Password, Data Source as per your database set up
con.ConnectionString = "User Id=scott;Password=tiger;Data Source=orcl9i;";
Visual Basic .NET

' Create the connection object
Dim con As OracleConnection = New OracleConnection()

' Specify the connect string
' NOTE: Modify User Id, Password, Data Source as per your database set up
con.ConnectionString = "User Id=Scott;Password=tiger;Data Source=ora9idb;"
2. Open database connection through ODP.NET:
C#
try
{
  // Open the connection
  con.Open();
  Console.WriteLine("Connection to Oracle database established successfully !");
  Console.WriteLine(" ");
} 
catch (Exception ex)
{
 Console.WriteLine(ex.Message);
}
Visual Basic .NET
Try

  ' Open the connection
  con.Open()
  Console.WriteLine("Connection to Oracle database established successfully !")
  Console.WriteLine(" ")

Catch ex As Exception

  Console.WriteLine(ex.Message)
End Try
3. Create command object to perform a query against the database:
C#
string cmdQuery = "SELECT empno, ename FROM emptab";
     
// Create the OracleCommand object
OracleCommand cmd = new OracleCommand(cmdQuery);
cmd.Connection = con;
cmd.CommandType = CommandType.Text;
Visual Basic .NET
Dim cmdQuery As String = "SELECT empno, ename FROM emptab"

' Create the OracleCommand object
Dim cmd As OracleCommand = New OracleCommand(cmdQuery)
cmd.Connection = con
cmd.CommandType = CommandType.Text
4. Fetch data into an OracleDataReader object and display the data on the console. Then, close the connection object:
C#
try
{
  // Execute command, create OracleDataReader object
  OracleDataReader reader = cmd.ExecuteReader();
  while (reader.Read())
  {
    // Output Employee Name and Number
    Console.WriteLine("Employee Number: " + 
                    reader.GetDecimal(0) + 
                                    " , " +
                       "Employee Name : " +

                      reader.GetString(1));
  }
}
catch (Exception ex) 
{
  Console.WriteLine(ex.Message);
} 
finally
{
  // Dispose OracleCommand object
  cmd.Dispose();

  // Close and Dispose OracleConnection object
  con.Close();
  con.Dispose(); 
}
Visual Basic .NET
Try



  ' Execute command, create OracleDataReader object
  Dim reader As OracleDataReader = cmd.ExecuteReader()
  While (reader.Read())

    ' Output Employee Name and Number
    Console.WriteLine("Employee Number : " & _
                      reader.GetDecimal(0) & _
                                     " , " & _
                        "Employee Name : " & _
    reader.GetString(1))

  End While
Catch ex As Exception

  Console.WriteLine(ex.Message)

Finally

  ' Dispose OracleCommand object
  cmd.Dispose()

  ' Close and Dispose OracleConnection object
  con.Close()
  con.Dispose()

End Try

Setup and Run the How-To



1. Open Visual Studio.NET.
2. Create a Console Application Project:
C#
Create a Console Application Project in C#. Class1.cs is added to the project by default.

Visual Basic .NET
Create a Console Application Project in Visual Basic .NET. Module1.vb is added to the 
project by default. 
3. Ensure that your project contains references to the System, Oracle.DataAccess and System.Data namespaces. Add references to these namespaces if they do not exist.
4. Copy the code:
C#
Using Solution Explorer open Class1.cs. For complete listing of code for this How-to article in C# click here. Copy this code and overwrite the contents of Class1.cs.

from http://www.oracle.com/technology/sample_code/tech/windows/odpnet/howto/connect/index.html?_template=/ocom/print


ข้อมูล date time ใน oracle

มักจะมีคนถามบ่อย ๆ ว่า Oracle เก็บวันที่เป็นปีฝรั่งหรือปีไทย จริงๆ แล้วฟิลด์ DATE ของ Oracle จะเก็บข้อมูลวันที่เป็นตัวเลขค่าหนึ่งซึ่งแทนวันที่ในปฏิทินสากลแบบของ ฝรั่งเขา ซึ่งเรียกว่าปฏิทินแบบ Gregorian ซึ่งเป็นปฏิทินแบบ default ของ Oracle

การเก็บจึงไม่ใช่การเก็บเป็นตัวเลข 2551 หรือ 2008 ดังนั้นคำถามจึงไม่ได้อยู่ที่ว่ามันเก็บเป็นปีฝรั่งหรือปีไทย แต่น่าจะอยู่ที่ว่าคุณยินดีจะคีย์วันที่เป็นปีไทยหรือปีฝรั่งคุณก็คีย์ แต่บอก Oracle หน่อยว่าที่คุณคีย์นั้นเอาฟอร์แมตแบบไหน เป็นปีไทยหรือปีฝรั่ง การนำออกมาแสดงก็เช่นกัน ตอนคุณเอาออกมาแสดงก็เพียงแต่บอกว่าต้องการดูแบบปีไทยหรือปีฝรั่ง ในตัวอย่างผมเปลี่ยนประเภทของปฏิทินเป็นแบบปีพ.ศ. (THAI_BUDDHA) แล้ว insert ข้อมูลเข้าไปเป็นทั้งปีแบบ ค.ศ. และ พ.ศ. แล้วก็เปลี่ยนกลับเป็นแบบปี ค.ศ. (GREGORIAN) จะเห็นว่า เมื่อเรา insert ปีพ.ศ.เข้าไปในขณะที่เราตั้งปฏิทินเป็นปี พ.ศ. เมื่อ select ข้อมูลขึ้นมาก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แต่ถ้าเรา insert ปีค.ศ.เข้าไปเราจะเห็นว่า กันจะกลายเป็นปี พ.ศ.2008 แทน เช่นเดียวกับเมื่อเราตั้งปฏิทินเป็นแบบ ค.ศ. แล้วคีย์ข้อมูลเป็น 2551 เราก็จะได้ปี ค.ศ.2551
ตอนท้ายผม select ข้อมูลที่เรา insert เข้าไปให้ดูในทั้งสองแบบปฏิทิน หวังว่าคงจะช่วยทำให้เข้าใจเรื่องปฏิทินใน Oracle ดีขึ้นมั่งนะครับ

SQL> create table mydate (date_col date);

Table created.

SQL> alter session set nls_calendar = 'THAI BUDDHA';

Session altered.

SQL> insert into mydate values (to_date ('15/12/2008','dd/mm/yyyy'));

1 row created.

SQL> insert into mydate values (to_date ('15/12/2551','dd/mm/yyyy'));

1 row created.

SQL> alter session set nls_calendar = 'GREGORIAN';

Session altered.

SQL> insert into mydate values (to_date ('15/12/2008','dd/mm/yyyy'));

1 row created.

SQL> insert into mydate values (to_date ('15/12/2551','dd/mm/yyyy'));

1 row created.

SQL> commit;

Commit complete.

SQL> conn scott/tiger
Connected.
SQL> select * from mydate;

DATE_COL
-------------
15 ธ.ค. 1465
15 ธ.ค. 2008
15 ธ.ค. 2008
15 ธ.ค. 2551

SQL> alter session set nls_calendar='THAI BUDDHA';

Session altered.

SQL> select * from mydate;

DATE_COL
--------------------------------------------------------
วัน ที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2008
วันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2551
วัน ที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2551
วันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 3094

from http://www.dbcertify.com/index.php?option=com_content&view=article&id=9:-oracle&catid=2:tanakornblog&Itemid=4


17 กุมภาพันธ์ 2554

คำคมการลงทุน

“Go for a business that any
idiot can run - because sooner or
later, any idiot probably is going to
run it.”

“เลือกธุรกิจที่แม้แต่คนโง่ยังสามารถ
ดำเนินงานได้ เพราะไม่ช้าก็เร็วไม่แน่ว่าจะมีไอ้โง่
ที่ไหนมาดำเนินธุรกิจให้กับบริษัทนั้น”

Peter Lynch

from http://www.efinancethai.com/investor_station/filepdf/INV170211.pdf


15 กุมภาพันธ์ 2554

10 Tips For The Successful Long-Term Investor

While it may be true that in the stock market there is no rule without an exception, there are some principles that are tough to dispute. Let's review 10 general principles to help investors get a better grasp of how to approach the market from a long-term view. Every point embodies some fundamental concept every investor should know.



1. Sell the losers and let the winners ride!

Time and time again, investors take profits by selling their appreciated investments, but they hold onto stocks that have declined in the hope of a rebound. If an investor doesn't know when it's time to let go of hopeless stocks, he or she can, in the worst-case scenario, see the stock sink to the point where it is almost worthless. Of course, the idea of holding onto high-quality investments while selling the poor ones is great in theory, but hard to put into practice. The following information might help:

Riding a Winner - Peter Lynch was famous for talking about "tenbaggers", or investments that increased tenfold in value. The theory is that much of his overall success was due to a small number of stocks in his portfolio that returned big. If you have a personal policy to sell after a stock has increased by a certain multiple - say three, for instance - you may never fully ride out a winner. No one in the history of investing with a "sell-after-I-have-tripled-my-money" mentality has ever had a tenbagger. Don't underestimate a stock that is performing well by sticking to some rigid personal rule - if you don't have a good understanding of the potential of your investments, your personal rules may end up being arbitrary and too limiting. (For more insight, see Pick Stocks Like Peter Lynch.)

Selling a Loser - There is no guarantee that a stock will bounce back after a protracted decline. While it's important not to underestimate good stocks, it's equally important to be realistic about investments that are performing badly. Recognizing your losers is hard because it's also an acknowledgment of your mistake. But it's important to be honest when you realize that a stock is not performing as well as you expected it to. Don't be afraid to swallow your pride and move on before your losses become even greater.

In both cases, the point is to judge companies on their merits according to your research. In each situation, you still have to decide whether a price justifies future potential. Just remember not to let your fears limit your returns or inflate your losses. (For related reading, check out To Sell Or Not To Sell.)



2. Don't chase a "hot tip".

Whether the tip comes from your brother, your cousin, your neighbor or even your broker, you shouldn't accept it as law. When you make an investment, it's important you know the reasons for doing so; do your own research and analysis of any company before you even consider investing your hard-earned money. Relying on a tidbit of information from someone else is not only an attempt at taking the easy way out, it's also a type of gambling. Sure, with some luck, tips sometimes pan out. But they will never make you an informed investor, which is what you need to be to be successful in the long run. (Find what you should pay attention to - and what you should ignore in Listen To The Markets, Not Its Pundits.)



3. Don't sweat the small stuff.

As a long-term investor, you shouldn't panic when your investments experience short-term movements. When tracking the activities of your investments, you should look at the big picture. Remember to be confident in the quality of your investments rather than nervous about the inevitable volatility of the short term. Also, don't overemphasize the few cents difference you might save from using a limit versus market order.

Granted, active traders will use these day-to-day and even minute-to-minute fluctuations as a way to make gains. But the gains of a long-term investor come from a completely different market movement - the one that occurs over many years - so keep your focus on developing your overall investment philosophy by educating yourself. (Learn the difference between passive investing and apathy in Ostrich Approach To Investing A Bird-Brained Idea.)



4. Don't overemphasize the P/E ratio.

Investors often place too much importance on the price-earnings ratio (P/E ratio). Because it is one key tool among many, using only this ratio to make buy or sell decisions is dangerous and ill-advised. The P/E ratio must be interpreted within a context, and it should be used in conjunction with other analytical processes. So, a low P/E ratio doesn't necessarily mean a security is undervalued, nor does a high P/E ratio necessarily mean a company is overvalued. (For further reading, see our tutorial Understanding the P/E Ratio.)



5. Resist the lure of penny stocks.

A common misconception is that there is less to lose in buying a low-priced stock. But whether you buy a $5 stock that plunges to $0 or a $75 stock that does the same, either way you've lost 100% of your initial investment. A lousy $5 company has just as much downside risk as a lousy $75 company. In fact, a penny stock is probably riskier than a company with a higher share price, which would have more regulations placed on it. (For further reading, see The Lowdown on Penny Stocks.)



6. Pick a strategy and stick with it.

Different people use different methods to pick stocks and fulfill investing goals. There are many ways to be successful and no one strategy is inherently better than any other. However, once you find your style, stick with it. An investor who flounders between different stock-picking strategies will probably experience the worst, rather than the best, of each. Constantly switching strategies effectively makes you a market timer, and this is definitely territory most investors should avoid. Take Warren Buffett's actions during the dotcom boom of the late '90s as an example. Buffett's value-oriented strategy had worked for him for decades, and - despite criticism from the media - it prevented him from getting sucked into tech startups that had no earnings and eventually crashed. (Want to adopt the Oracle of Omaha's investing style? See Think Like Warren Buffett.)



7. Focus on the future.

The tough part about investing is that we are trying to make informed decisions based on things that have yet to happen. It's important to keep in mind that even though we use past data as an indication of things to come, it's what happens in the future that matters most.

A quote from Peter Lynch's book "One Up on Wall Street" (1990) about his experience with Subaru demonstrates this: "If I'd bothered to ask myself, 'How can this stock go any higher?' I would have never bought Subaru after it already went up twentyfold. But I checked the fundamentals, realized that Subaru was still cheap, bought the stock, and made sevenfold after that." The point is to base a decision on future potential rather than on what has already happened in the past. (For more insight, see The Value Investor's Handbook.)



8. Adopt a long-term perspective.

Large short-term profits can often entice those who are new to the market. But adopting a long-term horizon and dismissing the "get in, get out and make a killing" mentality is a must for any investor. This doesn't mean that it's impossible to make money by actively trading in the short term. But, as we already mentioned, investing and trading are very different ways of making gains from the market. Trading involves very different risks that buy-and-hold investors don't experience. As such, active trading requires certain specialized skills.

Neither investing style is necessarily better than the other - both have their pros and cons. But active trading can be wrong for someone without the appropriate time, financial resources, education and desire. (For further reading, see Defining Active Trading.)



9. Be open-minded.

Many great companies are household names, but many good investments are not household names. Thousands of smaller companies have the potential to turn into the large blue chips of tomorrow. In fact, historically, small-caps have had greater returns than large-caps; over the decades from 1926-2001, small-cap stocks in the U.S. returned an average of 12.27% while the Standard & Poor's 500 Index (S&P 500) returned 10.53%.

This is not to suggest that you should devote your entire portfolio to small-cap stocks. Rather, understand that there are many great companies beyond those in the Dow Jones Industrial Average (DJIA), and that by neglecting all these lesser-known companies, you could also be neglecting some of the biggest gains. (For more on investing in small caps, see Small Caps Boast Big Advantages.)



10. Be concerned about taxes, but don't worry.

Putting taxes above all else is a dangerous strategy, as it can often cause investors to make poor, misguided decisions. Yes, tax implications are important, but they are a secondary concern. The primary goals in investing are to grow and secure your money. You should always attempt to minimize the amount of tax you pay and maximize your after-tax return, but the situations are rare where you'll want to put tax considerations above all else when making an investment decision (see Basic Investment Objectives).



Conclusion

There are exceptions to every rule, but we hope that these solid tips for long-term investors and the common-sense principles we've discussed benefit you overall and provide some insight into how you should think about investing.



from Investopedia


11 กุมภาพันธ์ 2554

รวม Ebook หนังสือธรรมะหลวงตามหาบัว

1) ประวัติพระอาจารย์มั่น โดยหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/47918216?access_key=key-1vdbhi4dwbluh71fghd2

2) ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
-ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/47919267?access_key=key-23prjjniw3a8budd6pn4

3) วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/47918879?access_key=key-1f34tszg3blgwrwi69l6

4) หยดน้ำบนใบบัว (คติธรรมและชีวประวัติของ "หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน")
http://www.scribd.com/full/47918071?access_key=key-2lfogyz17q64xnvyjtpm

5) หลวงตามหาบัว มหัศจรรย์มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่
http://www.scribd.com/full/47941333?access_key=key-1j08k5usv525rsof489u

6) ชาติสุดท้าย-ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน (พ.ศ.2550)
http://www.scribd.com/full/47990096?access_key=key-24bb302qk0sf97yd5iwj

7)ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย"-หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (พ.ศ.2554)
http://www.scribd.com/full/47990323?access_key=key-1j5rw81c558tkzbq47mp

8) เรื่องที่คุยกันกับลูกศิษย์ (ผู้แต่ง : เพ็ญแข กัปปิยบุตร)
http://www.scribd.com/full/47942135?access_key=key-2eyke0rr97qu72yrcxc2

9) วัดป่าบ้านตาด (รู้จักกับป่าบ้านตาด)-ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/47940856?access_key=key-f27q0lcfpk5mz4qmsao

10) ปัญญาอบรมสมาธิ-ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/47987805?access_key=key-2mcn5biwyv4ausnn342e

11) กายคตาสติ : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,
note : มีรูปทางกายวิภาค, อสุภะ ในหนังสือ
http://www.scribd.com/full/47940338?access_key=key-1gs191s6wzb9prc9bob3

12) เข้าสู่แดนอวกาศของจิตของธรรม-ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/48013291?access_key=key-241vq0uba13aspzy5t1g

13) เข้าสู่แดนนิพพาน-พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/47915725?access_key=key-27n6va5z0y30fgc004yl

14) ความลึกลับซับซ้อนของจิตวิญญาณ-พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/47911227?access_key=key-w7r9qg8d8kf5q50u42s


15) ธรรมชุดเตรียมพร้อม - ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/48314353?access_key=key-d1jrs7kx0qiqgpfij8n

16) บทสนทนาจอมปราชญ์ "เมื่อพระเจ้าอยู่หัวฯ ถามหลวงตามหาบัวฯ เรื่องพุทธภูมิ"
http://www.scribd.com/full/48303962?access_key=key-2lje6n7irdepivsx02t0

17) บัญชรธรรม คติธรรมจากพระธรรมเทศนาขององค์พระหลวงตามหาบัว ชุดที่1
http://www.scribd.com/full/48312225?access_key=key-2g8473n4w8p27rb7bvc9

18) บัญชรธรรม คติธรรมจากพระธรรมเทศนาขององค์พระหลวงตามหาบัว ชุดที่2
http://www.scribd.com/full/48312624?access_key=key-1qu4a392u9ktkmiik8m9

19) จิตตภาวนา - ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/48270807?access_key=key-2jk2a4z0vqalu5a0ymx3

20) งานบูชาคุณแผ่นดินไทย - ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/48271275?access_key=key-2hwn56kd2ztrritfamju

21) ธัมมะในลิขิต-ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/48070434?access_key=key-1syiat8r2coqx5lavz61

22) หลวงตาสอนเด็ก อันชนกชนนีนี้รักเจ้า เทียมเท่าชีวาก็ว่าได้
-ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/48069859?access_key=key-skvvqa1600sa43xieuf

23) อุบายฝึกจิตทางลัด-หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/48062975?access_key=key-25qbkjfns02n6mlq7k27

24) จิตเสื่อมเพราะขาดคำบริกรรม-ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.scribd.com/full/48062493?access_key=key-o9zlxjqfo1wj3i2f4ff

from http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10215596/Y10215596.html


07 กุมภาพันธ์ 2554

เปิดชีวิตผู้เฒ่า"Bai Fang Lee "มหาบุรุษคนยาก ผู้บริจาคเงินนับล้านเพื่อให้เด็กๆเรียนหนังสือ

"น้ำใจ" เป็นสิ่งที่ตามหาได้น้อยลงๆ ในสังคมโลกแห่งการแก่งขัน แย่งชิง สู้รบ ในการได้มาซึ่งเงินตรา อำนาจ การครอบครอง ยศฐาบรรดาศักดิ์ ฯลฯ แต่สำหรับ Bai Fang Lee ชายชราชาวจีนผู้ยากจนข้นแค้น ท่านนี้ กลับมีแก่นจุดยืนของตัวเองเพียงสิ่งเดียวคือ "การให้" ซึ่งกลายเป็นคุณค่ามหาศาลสำหรับเด็กๆ ชาวจีนผู้ด้อยโอกาส ที่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ

ผู้เฒ่า Bai Fang Lee เกิดบนผืนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ ในครอบครัวที่ยากจน นั่นทำให้เขาไม่ได้เรียนหนังสือ แต่เชื่อหรือไม่ว่า เขาใช้เงินทั้งหมดที่สะสมเล็กสะสมน้อย จากการปั่นสามล้อถีบมามากกว่า 20 ปี ราว 350,000 หยวน (ประมาณ 1,750,000 บาท) บริจาคให้กับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ในเมือง Tainjin เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนจำนวนมาก

อาหารกลางวัน ของ คุณตา Bai Fang Lee เป็นแค่ขนมปัง กับน้ำเปล่า อย่างหรูขึ้นมาหน่อยก็ใส่เครื่องปรุงรสลงไปในน้ำ ส่วนมือเย็นก็เป็นเศษชิ้นเนื้อหรือไม่ก็ไข่ ซึ่งอาหารทั้งหมดของคุณตา Bai Fang Lee ล้วนขุดคุ้ยมาจากถังขยะที่มีคึนทิ้งๆไว้ ซึ่งกว่าจะเจอก็ช่างยากเย็นเสียเหลือเกิน ถ้าวันไหนโชคดี ก็จะได้กินเนื้อชิ้นโต ซึ่งต้องถือว่า เป็นอาหารอันโอชะที่สุดแล้ว

คุณ ตา Bai Fang Lee ตื่น 6 โมงเช้า ปั่นสามล้อถีบวันตลอด 365 วัน โดยไม่มีวันหยุด และกว่าจะเลิกอีกทีก็ หนึ่งทุ่ม สองทุ่ม เป็นอย่างนี้ทุกๆปี ไม่รู้นานเท่าไหร่แล้ว ทนทุกข์ท่ามกลางหิมะที่หนาวจัด กระทั่งไปจนถึงอากาศร้อนสุดๆ ที่บางวันก็ถึง50 องศาเซลเซียส

"ผมพอใจกับความทุกข์ยากที่เป็นอยู่ เพื่อให้เด็กๆยากจนได้เรียนหนังสือ" มหาบุรุษคนยาก เผย
เมื่อตอนที่ อายุ 90 ปี คุณตา Bai Fang Lee ได้มอบเงิน 500 หยวน ก้อนสุดท้ายบริจาคให้กับโรงเรียน Yao Hua โดยเขาบอกอย่างผิดหวังเล็กน้อยว่า "ผมไม่สามารถหาเงินได้มากไปกว่านี้แล้ว และนี่อาจเป็นก้อนสุดท้ายแล้วก็ได้"

อีกสามปีต่อมา คุณตา Bai Fang Lee จากโลกใบนี้ไปอย่างสงบ เมื่อสิ้นสุดลมหายใจ ในวัย 93 ปี สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับนักเรียนและครู อาจารย์ บนจีนแผ่นดินใหญ่นี้เป็นอย่างมาก

และนี่เป็นภาพสุดท้ายของ Bai Fang Lee มหาบุรุษคนยาก ผู้ยิ่งใหญ่ของเด็กๆ ที่ควรจารึกไว้ในความทรงจำของผู้คนทั่วโลก เป็นภาพแห่ง"ความรักที่จะให้"สุดพิเศษ ที่ควรต่อการเอาเยี่ยงอย่าง ของพวกเห็นแก่ตัว หวังแต่จะได้ ที่มีอยู่ดาดดื่นบนปฐพีสีน้ำเงินแห่งนี้...

from http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1296980594&grpid=01&catid=&subcatid=


03 กุมภาพันธ์ 2554

คำคมการลงทุน

“An investment operation is
one which, upon thorough analysis
promises safety of principal and
an adequate return. Operations not
meeting these requirements are
speculative.”

“การลงทุนคือการปฎิบัติการที่ผ่าน
การวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนแล้วจะสามารถเก็บ
รักษาเงินต้นและสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอ
การปฎิบัติการอื่นใดที่ไม่เข้าข่ายนี้ถือเป็นการ
เก็งกำไร”

Benjamin Graham

from http://www.efinancethai.com/investor_station/filepdf/INV030211.pdf


02 กุมภาพันธ์ 2554

บวกเวลาดี ๆ ให้ชีวิต เทคนิคจาก "หนูดี" ถึงครอบครัวคนเมือง

เชื่อว่ามีหลายครอบครัวคนเมือง มักบ่นกับตัวเอง หรือคู่ชีวิตอยู่เสมอ ๆ ว่า ไม่มีเวลาทำโน่นทำนี่ ตลอดจนไม่มีเวลาแม้แต่จะให้กับตัวเอง เนื่องจากมีบ่วงเรื่องงาน และเรื่องที่บ้านให้รับผิดชอบอยู่หลายสิ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว หารู้ไม่ว่า ทุกคนมีเวลาที่ดีในชีวิตอยู่มาก เพียงแต่เวลาเหล่านั้นไปแอบซ่อนอยู่ในที่ต่าง ๆ จนยากที่จะหาพบ

ในโอกาสนี้ หนูดี-วนิษา เรซ นักคิด นักเขียน นักทำ ผู้จบด้านสมอง และการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีแนวทางในการหาเวลาดี ๆ ที่หายไปมาฝากครอบครัวคนเมืองกัน ทั้งนี้เพื่อจะได้รู้จักการวางแผนเวลา และจัดการเวลาอย่างไม่ผิดนัดกับชีวิต

โดย หนูดี บอกไว้ในงาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 4 ที่ผ่านมาว่า ชีวิตคนเรา โดยเฉพาะครอบครัวคนเมือง มีหลุมดำอยู่หลายหลุม ซึ่งหลุมดำพวกนี้ ถ้าตกลงไปแล้ว ไม่เพียงแค่เวลาจะหายไปอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งที่หายไปด้วยคือความรู้สึกดี ๆ กับตัวเอง และคนรอบข้าง

บวกเวลาดี ๆ จากอารมณ์เชิงลบ

หลุมดำอันแรกที่ครอบครัวคนเมืองคุ้นชินกันดี และควรระวังเป็นพิเศษ คือ อารมณ์เชิงลบต่าง ๆ เช่น โกรธ กลัว ผิดหวัง เสียใจ ทุกข์ใจ อารมณ์เหล่านี้ ถือเป็นหลุมดำที่ช่วงชิงเวลาดี ๆ ให้หายไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยบวกเวลาดี ๆ ให้ชีวิตก็คือ การพูดว่า "ไม่" เชิงบวก หรือปฏิเสธเชิงบวก เริ่มจากเมตตาคนรอบข้าง พร้อมกับเมตตาต่อตัวเอง เพราะเวลาที่พูดว่า "ไม่" กับคนอื่น เท่ากับเราพูดว่าใช่กับตัวเอง ในขณะเดียวกันถ้ากล้าพูดว่าใช่กับตัวเอง เราจะไม่ใช้เวลาอย่างอึดอัด หรือใช้เวลากับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเราอย่างแท้จริง

บวกเวลาดี ๆ จากการเล่น

มีหลายคนบอกว่า คนที่จัดการเวลาได้เก่ง คือคนที่ทำงานได้หลายอย่าง มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง แต่ทั้งนี้ เราควรจัดเวลาให้กับการเล่นด้วย เพราะการเล่น ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เราเสียเวลา แต่การเล่นคือการพัฒนาสมองที่ดีอย่างหนึ่ง

"งานวิจัยใหม่ ๆ พบว่า ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ที่ใช้เวลากับการเล่น ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่สมองเราจะมีศักยภาพในการสร้างสรรค์มากขึ้น มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหามากขึ้น เพราะการเล่นไม่ใช่เรื่องเสียเวลา แต่เป็นเรื่องที่สำคัญ" หนูดีเผย

บวกเวลาดี ๆ จากหน้าจอจอมยุ่ง

หน้าจอประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์มือถือหน้าจอเหล่านี้มีประโยชน์มาก แต่หากใช้ไม่ระวัง อาจเป็นหลุมดำที่ดูดเอาเวลาดี ๆ ของเรา และครอบครัวให้หมดไปจากชีวิตได้

สำหรับเทคนิคการดึงเวลาง่าย ๆ คือ ถ้าไม่สามารถปลีกตัวออกจากหน้าจอเหล่านี้ได้ เราสามารถขโมยเวลาเชิงบวกกลับมาได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ พิมพ์ หรือโทรศัพท์ไปบอกคนที่เรารักว่า เรารักเขา คิดถึงเขา และดีใจที่มีเขาอยู่ในชีวิต เป็นต้น

บวกเวลาดี ๆ จากเงิน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่องเงิน เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับครอบครัวในเมือง เป็นหลุมดำที่หากดูแลไม่ดี อาจทำให้เวลาดี ๆ ติดลบได้ ดังนั้น เราสามารถทำเรื่องเงินให้เป็นเรื่องเชิงบวกได้ เพราะเงินเท่ากับเวลา ถ้ากล้าที่จะใช้เวลาวันนี้ดูแลการเงินให้ดี เช่น การออม การลงทุนโดยไม่ต้องรอให้ถึงอนาคต จะสามารถมีสถานภาพทางการเงิน และใช้เวลาในอนาคตเชิงบวกในแบบที่เราพึงพอใจได้

บวกเวลาดี ๆ จากการอ่าน

อีกทักษะหนึ่งที่หนูดี แนะนำให้ครอบครัวคนเมืองได้รู้จักคือ การจัดเวลาให้กับการอ่าน เริ่มจากการอ่านเร็ว เพราะถ้าสามารถอ่านได้เร็วขึ้น เราจะมีเวลาไปทำสิ่งที่เรามีความสุขในชีวิตได้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ไม่ควรลืมเผื่อเวลาสบายๆ ให้กับการอ่านช้าด้วย

"การที่เราใช้เวลาว่างนั่งอยู่กับหนังสือดี ๆ สักเล่มหนึ่ง ค่อย ๆ อ่านอย่างมีสมาธิโดยไม่ต้องมองนาฬิกา ปล่อยให้เวลาหายไปไหนก็ได้ รู้แต่ว่า ณ ตอนนั้น เรามีความสุขอยู่กับสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเรา" หนูดีเผยวิธีบวกเวลาดี ๆ จากการอ่านหนังสือ

อย่างไรก็ดี เวลาที่สำคัญที่สุดที่ครอบครัวคนเมืองไม่ควรมองข้าม คือ เวลานี้ วินาทีนี้ ปัจจุบันนี้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอ 10 ปี หรือ 20 ปี เพื่อให้เรียนจบ หรือมีฐานะมั่นคงแล้วค่อยมีความสุข ทุกครอบครัวสามารถหายใจไปเข้าพร้อมกับความสุขได้เลย เพราะปาฏิหาริย์ ไม่ใช่การที่เดินในน้ำได้ หรือบินบนอากาศได้ แต่สิ่งที่เรียกว่าปาฏิหาริย์ คือการมีความสุขในทุก ๆ ย่างก้าวในชีวิต

มาบวกเวลาดี ๆ ให้กับชีวิต โดยไม่ต้องรอให้ถึงอนาคตกันดีกว่า เพราะทุกคนล้วนมีนัดกับชีวิต และนัดหมายนั้นเกิดขึ้นทุกนาที ถ้าใช้ชีวิตอย่างขาดสติ ไม่วางแผนล่วงหน้า ไม่จัดการเวลาให้ดี มีชีวิตเลื่อนลอย ก็เท่ากับว่า เราผิดนัดกับชีวิต เป็นการโกงตัวเองจากความสุข ความสำเร็จทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

from http://manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000014378


ฟินันซ่าลุยหุ้นคอนซัมชั่นจับทางแรงซื้อตลาดเอเชียนโต

บลจ.ฟินันซ่า ออกองทุนใหม่ "ฟินันซ่า เอเชี่ยน คอนซัมชั่น"ลุยตลาดเอเชีย เน้นลงทุนในบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สูงมากในระยะยาว รวมถึงปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง เปิดขาย IPO ช่วงสัปดาห์แรก เดือนก.พ.

นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเสนอขาย “กองทุนเปิดหน่วยลงทุน ฟินันซ่า เอเชี่ยน คอนซัมชั่น (FAM ACF) ในช่วงอาทิตย์แรกของเดือนก.พ.54 มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท

โดยจะนำเงินไปลงทุนใน “กองทุน UBS (Lux) Equity Fund - Asian Consumption (USD)” ซึ่งบริหารโดย UBS มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่หรือดำเนินธุรกิจหลักในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นธุรกิจการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้บริโภคในเอเชีย ซึ่งเป็นธีมการลงทุนที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ โดยก่อนหน้านี้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทก็มีการนำเงินไปลงทุนในกองทุนดังกล่าวมาแล้วกว่า 2 ปี ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีประมาณ 26% จึงตั้งใจจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนทั่วไปมีโอกาสเข้ามาร่วมลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมด้วยจึงได้จัดตั้งกองทุน FAM ACF ขึ้นมาในครั้งนี้

“กองทุน FAM ACF นี้ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนสถาบันค่อนข้างดี เพราะเขาเข้าใจและมองเห็นโอกาสในการลงทุนในระยะยาวที่วางอยู่บนพื้นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชีย การเติบโตของประชากร ความกินดีอยู่ดีของคนเอเชียจากเศรษฐกิจที่เติบโตดีขึ้นก็จะทำให้มีการอุปโภคบริโภคสินค้ามากขึ้น นั่นจึงทำให้มีการประเมินยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคในแต่ละปีจะโตประมาณ 20% เลยทีเดียว ดังนั้นไม่อยากให้มองความผันผวนหรือกังวลกับราคาในระยะสั้นมากจนเกินไป ถ้ายังไม่มั่นใจก็อาจจะทยอยซื้อเฉลี่ยไปก่อนได้ เพราะในระยะยาวถือเป็นธีมการลงทุนที่ลงทุนแล้วสบายใจในระยะยาวอย่างแท้จริง”

นาย โปรจิต แชทเธอร์จี ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธุ์ ตลาดเกิดใหม่และเอเชีย ยูบีเอส โกลบอล แอสเสท แมเนทเม้น สิงคโปร กล่าวถึง แนวโน้มตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคในปี 2011 ว่ายังมีความเชื่อมั่นในสินค้าบริโภคจำเป็นที่มีคุณภาพสูง ท่ามกลางความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ สำหรับกลุ่มสินค้าบริโภคจำเป็น เรามองเห็นแนวโน้มที่ดีสำหรับบริษัทซึ่งมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าที่ดีกว่า

ในขณะที่สินค้าอาหารจำเป็นมีความเสี่ยงจากการแทรกแซงราคาโดยภาครัฐ ยอดขายสินค้าปลีกในเกาหลี จีน และอินเดียจะยังมีความโดดเด่นอย่างต่อเนื่อง สินค้าบริโภคฟุ่มเฟือยและไฮเอนด์ควรจะเป็นกลุ่มที่รอดพ้นจากความกังวลจากภาวะเงินเฟ้อ ส่วนนโยบายของภาครัฐในจีนและอินเดียที่มุ่งกระจายความมั่งคั่งของประชากรก่อให้เกิดโอกาสที่ดีในการได้รับประโยชน์จากการกระจายรายได้ สินค้าบริโภคสำหรับลูกค้าวงกล้าวงจะยังคงอัตราการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและกองทุนก็อยู่ในสถานะที่ดีที่จะได้รับประโยชน์จากอุปทานที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชนชั้นกลาง

ทั้งนี้ สินค้าของภูมิภาคเอเชียกำลังเป็นแบรนด์ที่ตลาดต้องการทั้งในระดับประเทศจนถึงระดับประเทศ โดยแบรนด์ที่นิยมในประเทศจีนได้แก่ Lenovo แบรนด์ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล TCL แบรนด์ ทีวี Haier แบรนด์ ตู้เย็น และแบรนด์ในประเทสเกาหลีใต้ อย่าง Samsung LG Hyundai

นอกจากนี้ ศักยภาพทางการบริโภคในเอเชียนั้น การบริโภคภาคครัวเรือนในประเทศจีน คิดเป็น 30% ของการเติบโตของ จีดีพี ในปี 2009 เทียบกับ 30% ในปี 2007 ขณะที่ในอินเดีย มีเพียง 17% ของครัวเรือนทั้งหมดที่กู้ยืมสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยในปัจจุบันประชากรอิoเดียที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เทียบกับ 93% ในสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศอินโดนิเซีย 67% ของครัวเรือนทั้งหมดมีแผนที่จะซื้อรถยนต์ในช่วง 3 ปีข้างหน้า

from http://manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9540000013140


กูรูเชียร์เก็บกองอสังหาฯตรีนิตี้ ชูประกันค่าเช่าขั้นต่ำ4ปีจ่ายยิลด์สูง

โบรกเกอร์บล.โนมูระ พัฒนสิน มอง "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตรีนิตี้" มีประกันค่าเช่าขั้นต่ำ 4 ปีทำให้จ่ายผลตอบแทนได้ค่อนข้างสูง พร้อมประเมินกองทุนกระจายความเสี่ยงได้ดีเหตุเลือกลงทุนเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์และอาคารศูนย์การค้า

รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความน่าสนใจกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตรีนิตี้หรือ TNPRF ว่า เราแนะนำให้ซื้อประเมินมูลค่าพื้นฐานที่ 10.40 บาทด้วยวิธี Dividend Discounted (DDM) ซึ่งความน่าสนใจของกองทุนดังกล่าวคือ เป็นกองทุนรวมที่มีการประกันรายได้ค่าเช่าขั่นต่ำ 4 ปี ทำให้ผลตอบแทนเงินปันผล Dividend yield อยู่ในระดับน่าพอใจประมาณการณ์อยู่ที่ 7.5%และช่วงปีที่ 5-10 เราคาดว่าจะยังคงความสามารถจ่ายปันผลเฉลี่ยที่ 7.5% ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหมาะกับการลงทุนระยะยาว

ส่วนรายได้ของกองทุน TNPRF มาจากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ในเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์และอาคารศูนย์การค้า ย่านถนนสีลม (ซอยละลายทรัพย์) ซึ่งมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ในขณะที่กองทุนTNPRF ยังมี Upside potential จากรายได้ของผู้เช่าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังมี Upside risk จากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (เนื่องจากกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนรวมแบบ Freehold ซึ่งมีสุทธิสมบูรณ์ในสินทรัพย์) ณ ราคาจอง 10 บาทถือว่ามี Upside gain 11.5% ซึ่งมาจาก Capital gain 4% และYield 7.5%

ทั้งนี้กองทุน TNPRF มีการรับประกันรายได้ค่าเช่าขึ้นต่ำ 4 ปีทำให้ dividend yield อยู่ในระดับความน่าพอใจที่ประมาณ 7.5% และคาดว่าจะยังมีความสามารถจ่าย Dividend yield เฉลี่ยประมาณ 7.5% ได้ต่อเนื่องในช่วงปีที่ 5-10 ซึ่งสูงกล่าวผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนที่มีลักษณะใกล้เคียงกันและผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นกู้เอกชน อีกทั้ง TNPRF เป็นกองทุนประเภท Freehold ดังนั้นการที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องก็จะเป็นผลดีและจะเป็น upside risk ของกองทุนเมื่อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวออกไปภายหลังจากเลิกกองทุน

นอกจากนี้สินทรัพย์ที่กองทุนอสังหาฯตรีนิตี้ลงทุนมีทั้งเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์และอาคารศูนย์การค้า ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี โดยไม่พึ่งพารายได้จากธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งรายได้ของกองทุนมาจากค่าเช่า โดยกำหนดทั้งในรูปอัตราค่าเช่าขั้นต่ำ( Minimum guarantee) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงหากอัตราการเข้าพักเฉลี่ยและหรือผู้เช่าพื้นที่ลดลง ในขณะที่หากมีอัตราการเข้าพักและหรือผู้เช่าพื้นที่เพิ่มขึ้น ก็เปิดโอกาสให้กองทุนรับรู้รายได้ส่วนเพิ่มจากการรับรู้รายได้ในรูปแบบแบ่งปันรายได้ (Revenue share )ซึ่งจุดนี้ถือเป็น upside potential ของกองทุน

สำหรับความเสี่ยงของกองทุนดังกล่าวคือ ความเสี่ยงรายได้ของกองทุนรวมเมื่อพ้นระยะเวลารับประกันรายได้ ความเสี่ยงในการจัดหาคู่สัญญาเช่ารายใหม่ เมื่อสัญญาที่ทำไว้กับผู้เช่าเดิมหมดลง ความเสี่ยงจากปัจจัยมหภาค เช่นเศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น

ทั้งนี้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตรีนิตี้ จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (Freehold) ในที่ดิน อาคาร และงานระบบสาธารณูปโภค เฟอร์นิเจอร์ วัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์โกลว์ ตรีนิตี้ สีลม พื้นที่พาณิชยกรรมโกลว์ ตรีนิตี้ สีลม และกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารศูนย์การค้ามอลล์ 1 โดยมีการรับประกันรายได้ขั้นต่ำของกองทุนรวมเป็นระยะเวลา 4 ปี โดยปีที่ 1 จะรับประกันรายได้ขั้นต่ำของกองทุนรวมไม่น้อยกว่า 65.7 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 66.7 ล้านบาท 67.1 ล้านบาท และ 67.1 ล้านบาทในปีถัดไปตามลำดับ พร้อมหนังสือค้ำประกันจากธนาคารพาณิชย์ โดยผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยมีอัตราผลตอบแทนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิประจำปี จึงเหมาะสมกับสำหรับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนที่ดี และมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ โดยกองทุนดังกล่าวจะเปิดขายไอพีโอระหว่างวันที่ 9-16 กุมภาพันธ์ 2554

from http://manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9540000014334


บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (All Time)