13 ตุลาคม 2556

อุทาหรณ์สอนใจคนที่ยังมีแรงทำมาหากิน

อยากเอามาให้อ่านสำหรับใคร ที่ไม่เคยคิดจะเก็บเงิน ไม่มีครอบครัว ไม่มีลูกหลาน และไม่มีเก็บ "ไม่คิดจะเก็บหรือเด๋วก่อน" ลองอ่านดูนะ
ก๊อปมาจากเฟสบุ๊คชื่อThai Korean Lover ขอบคุณมากที่เอามาแชร์

มี issue ที่เกาหลีมาเล่าให้ฟังค่ะ...เป็นเรื่องการตายของคุณยาย
ท่านหนึ่ง...ที่คนเกาหลีตั้งฉายาไว้ว่า " คุณยายแมคโดนัล "

คุณยายมีชื่อจริงว่า ควอน ฮาจา สมัยสาวๆคุณยายเป็นผู้หญิงหน้าตาดี
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง แต่ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูอย่างเจ้าหญิง
จนคุณยายสามารถเรียนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และ
ได้ทำงานที่ดี และ สาเหตุที่คุณยายได้ฉายานี้เป็นเพราะ....

...พอคุณยายแก่ตัวลงทุกอย่างที่ยายเคยมีก็หายไป หน้าที่การงาน
ทรัพย์สินเงินทองที่หมดไปเรื่อยๆตามการใช้จ่าย และ วันเวลา
จนทำให้คุณยายไม่มีแม้แต่บ้านอยู่ จนต้องอาศัยอยู่ตามร้านแมคโดนัล ,
ร้านกาแฟ หรือ ร้านสะดวกซื้อต่างๆที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เป็นที่พักพิง
และ นี่ก็เป็นที่มาของฉายาคุณยายแมคโดนัลนั่นเอง ,,,

ถ้าอ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจจะรู้สึกเศร้า หรือ สงสารมาก แต่เรื่องราว
ของคุณยายยังมีอีกมุมหนึ่ง เริ่มจากที่เพื่อนของคุณยายเล่าให้สื่อฟังว่า
สมัยสาวๆคุณยายทำงานดี และ ใช้เงินฟุ่มเฟือยมาก ใช้ชีวิตอย่าง
คนรวยในซี่รีส์เกาหลี สวย เลิศ เชิด หยิ่งสุดๆ.........จนวันหนึ่งเงินของ
คุณยายหมดลง คุณยายเลยต้องอาศัยร้าน 24 ชั่วโมงเป็นที่พักแบบนี้

แต่เหมือนโชคดีจะมาถึงคุณยาย เมื่อมีนักแสดงท่านหนึ่งพยายามช่วย
เหลือคุณยายผ่านทางรายการทีวี ช่วงนั้นจึงมีคนใจดีช่วยบริจาคเงินให้
คุณยายเยอะมาก แต่ที่น่าช็อค คือ คุณยายกลับใช้เงินที่ได้ัรับมาทั้ง
หมด เหมือนนํ้าเปล่า...เงินทั้งหมด ได้หมดลงไปกับการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
อย่างรวดเร็วอีกครั้ง และ คุณยายก็กลับสู่สภาพเดิม...

ด้วยสาเหตุนี้คนเกาหลีที่รับรู้เรื่องราวนี้ได้แสดงความคิดเห็นเกลียดชั่ง
อย่างรุนแรง ถึงขนาดบางคนแกล้งคุณยาย เวลาคุณยายนอนหลับอยู่
ในร้านกาแฟ โดยเขียนคำไม่ดีลงบนใบเสร็จร้านค้า และ แป่ะไว้บนศีรษะของคุณยาย

ถ้าเราจะเอาชีวิตของคุณยายเป็นกรณีศึกษา ซารันว่าเราจะได้ข้อคิด
การใช้ชีวิตที่ดีจากชีวิตของคุณยายค่ะ...
......ไม่อยากมองเป็นเรื่องดี หรือ ไม่ดี / ผิด หรือ ถูก ?
เพราะซารันว่าทุกคนมีหนทาง การถูกเลี้ยงดู และ ทางเลือกชีวิตที่ต่าง
กัน แต่...ก็ยังแอบเสียดาย ถ้าคุณยายไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือยขนาดที่ผ่านมา และ ระวังในการใช้ชีวิตมากกว่านี้ก็คงจะดี..

สุดท้าย นอนหลับให้สบายนะคะ...

หวังว่าเรื่องราวของคุณยายจะช่วยเป็นคติเตือนใจใครหลายๆคนที่กำลัง
ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย และ ประมาทได้...ขอบคุณค่ะคุณยายแมคโดนัล


from http://goo.gl/6W8nsf

07 ตุลาคม 2556

คัมภีร์นักลงทุนหน้าใหม่

ตอนผมเริ่มต้นชีวิตนักลงทุนใหม่ๆเคยฝันว่าอยากจะมี “เซียนหุ้น” เก่งๆคอยให้คำแนะนำ คล้ายๆกับนักกีฬาที่ต้องการโค้ช มาคอยช่วยให้คำแนะนำในการฝึก คอยบอกเราว่าต้องระวังอะไร ต้องศึกษาเรื่องอะไร และอะไรเป็นปัจจัยของความสำเร็จในอาชีพของเรา
วันนี้ผมโชคดีที่ได้รู้จักกับอาจารย์ นักลงทุนรุ่นพี่ รุ่นน้องเก่งๆหลายท่านที่คอยให้คำแนะนำอันมีคุณค่ากับผม ทุกครั้งที่มีโอกาสผมก็จะถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้กับคนที่สนใจเรียนรู้ แต่ก็ได้เพียงแค่คนหยิบมือเดียวเท่านั้น แถมหลายครั้งก็อาจจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ผมก็เลยสรุปแนวคิดจากประสบการณ์ส่วนตัวและที่รับการถ่ายทอดมาให้ออกมาเป็น “คู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นการลงทุน” และหวังว่าคำแนะนำที่ผมเคยอยากได้มากๆตอนเริ่มต้นเส้นทางลงทุนนี้ จะถูกถ่ายทอดให้คนไทยได้อ่านมากที่สุด เท่าที่จะมากได้
(ถึงแม้บทความนี้จะถูกเขียนมาเพื่อ “มือใหม่” แต่ผมเชื่อว่า “มือเก๋า” หลายๆคนน่าจะได้มุมมองและแง่คิดอะไรดีๆกลับไปครับ)
8 ข้อคิดเพื่อชีวิตการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
ข้อ 1: ก่อนจะเริ่มลงทุน เราต้องมีทักษะในการบริหารเงินที่ดีก่อน
ก่อนที่จะถามว่า “ซื้อหุ้นตัวไหนดี?” เราควรจะตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า
   ตอน นี้เรามีเงินเก็บเท่าไหร่? ที่ผ่านมาเก็บเงินได้เดือนละกี่บาท? สองคำถามนี้จะตรวจสอบว่าวินัยในการออมของเราเป็นอย่างไร ผมแนะนำให้แยกบัญชีที่ใช้ในการลงทุนออกมาต่างหาก (ห้ามถอนเด็ดขาด) และโอนเงินเข้าบัญชีนั้นด้วยระบบอัตโนมัติทุกๆเดือน ทำอย่างนี้จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานของเราได้ง่าย และเป็นการสร้างนิสัยในการออมที่มีประโยชน์มากๆในระยะยาว
   การลงทุน มีความหมายต่อเราอย่างไร? เพื่ออิสระทางการเงิน? เพื่อที่จะได้ลาออกจากงานที่ “ไม่ชอบ” ไปทำงานที่ “รัก”? เพื่อที่จะมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น? เหตุผลที่คุณค่าเพียงพอจะทำให้เราทุ่มเทและมุ่งมั่นมากขึ้น
   เป้า หมายในการลงทุนคืออะไร? เขียนออกมาให้ชัดเจนพร้อมทั้งกำหนดเงื่อนเวลา เป้าหมายที่ท้าทายจะทำให้เรามุ่งมั่นและสนุกกับการเดินทางมากขึ้น อาจารย์นิเวศน์เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีเงิน 1,000 ล้านก่อนอายุ 70 ปีแต่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ก่อนเกือบ 10 ปี สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าเราไม่มีเป้าหมายที่ดี
   เรามีความ รู้ความเข้าใจในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน? มีเวลาในการดูแลจัดการเงินของเราแค่ไหน? เรายอมรับความเสี่ยงได้มากหรือน้อย? สามคำถามนี้จะกำหนดแนวทางในการลงทุนของเรา ถ้าเรายังไม่ค่อยเข้าใจการลงทุนเท่าไหร่ การเริ่มต้นด้วยเงินน้อยๆอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ดีกว่า ถ้าเราไม่มีเวลาการซื้อกองทุนรวมอาจจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า
คำถาม เหล่านี้จะช่วยปูพื้นฐานในการลงทุนให้เรา การเริ่มต้นลงทุนโดยไม่มีการบริหารเงินที่ดีเปรียบเสมือนกับการสร้างบ้านโดย ไม่ได้ตอกเสาเข็ม ปีแรกๆอาจจะยังดูดี แต่ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาจะแก้ไขได้ยากมากครับ (ถ้าบ้านไม่พังครืนไปซะก่อน)
ข้อ 2: มีทัศนคติเกี่ยวกับการลงทุนที่ถูกต้อง
ผมขอรวบรวมหลักคิดที่เป็นประโยชน์เท่าที่พอนึกออกให้อ่านครับ
   ”การ ซื้อหุ้น” ไม่ต่างอะไรกับการ “ร่วมลงทุน” กับเพื่อนหรือญาติของเรา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราควรให้ความสนใจไม่ใช่แค่ราคา แต่เป็นการเติบโต (และความสม่ำเสมอ) ของผลตอบแทนที่ได้รับจากธุรกิจนั้นๆ
   การคาดเดาตลาดของตลาดเป็นสิ่งที่ทำเงินได้ยาก และการหาเงินจากการคาดเดานั้นทำได้ยากกว่า
   การซื้อขายหุ้นบ่อยๆอาจจะทำให้ผลตอบแทนในการลงทุนลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
   การลงทุนไม่ใช่การว่ิงแข่ง 100 เมตรแต่เป็นการวิ่งมาราธอน
   สิ่งที่คนส่วนมากทำไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป
   ราคาหุ้นอาจจะผันผวนไปตามอารมณ์ของตลาดได้ในระยะสั้น แต่สุดท้ายแล้วราคาหุ้นในระยะยาวจะสะท้อนผลประกอบการของธุรกิจ
   การซื้อหุ้นตามเซียนไม่ได้ทำให้คุณเป็น “เซียนหุ้น”
   ”ซื้อตัวไหน?” ไม่สำคัญเท่า “ซื้อเพราะอะไร?”
   ”โชค” อาจจะมีผลต่อผลตอบแทนของพอร์ตในระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวๆ “ฝึมือ” และ “ความทุ่มเท” จะกำหนดชะตาชีวิตของคุณ
ข้อ 3: เข้าใจหลักของดอกเบี้ยทบต้น
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยบอกไว้ว่า “ดอกเบี้ยทบต้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 8 ของโลก” ถ้าเราอยากจะใช้ประโยชน์จากดอกเบี้ยทบต้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าปัจจัยที่จะมีผลต่อมูลค่าของเงินเราในอนาคตมี 3 ข้อ 1. จำนวนเงินที่เรานำมาลงทุน 2. อัตราผลตอบแทน และ 3. ระยะเวลาการลงทุน นักลงทุนทั่วไปมักจะให้ความสนใจว่าพอร์ตใหญ่แค่ไหน หรือจะได้กำไรปีละกี่เปอร์เซ็นต์ แต่จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับระยะเวลาที่ใช้ในการลงทุนเท่าไหร่นัก นักลงทุนที่เก่งจะสามารถใช้เวลาเป็น “ตัวช่วย” ให้พอร์ตเติบโตได้โดยการเลือกลงทุนในธุรกิจที่สามารถรักษาความแข็งแกร่งได้ ในระยะยาวๆ
ข้อ 4: ต้องเข้าใจธุรกิจที่จะลงทุนอย่างถ่องแท้
บัฟเฟต์ เคยกล่าวไว้ว่า “การเป็นนักธุรกิจที่เก่งจะช่วยให้เราเป็นนักลงทุนที่ดีขึ้นได้” ฉะนั้นนักลงทุนหน้าใหม่คนไหนอยากจะประสบความสำเร็จในฐานะนักลงทุนต้องสามารถ วิเคราะห์กิจการที่เราสนใจให้เหมือนเถ้าแก่ที่กำลังจะลงทุนซื้อธุรกิจ เราต้องมองให้ออกว่าธุรกิจที่เราสนใจอยู่มีรายได้จากไหน? ต้นทุนในการดำเนินงานมาจากอะไร? การแข่งขันเป็นยังไง? มีอะไรที่เราต้องกังวลบ้าง? อะไรคือจุดแข็งหรือจุดอ่อนของธุรกิจ? โอกาสในการเติบโตของธุรกิจอยู่ที่ตรงไหน? จะบริหารเงินสดอย่างไร? จะต้องลงทุนอะไรบ้าง?
การซื้อหุ้นโดยไม่วิเคราะห์ธุรกิจให้ถ่องแท้ก็ เหมือนกับการซื้อบ้านโดยดูแค่ราคา การลงทุนก็ไม่ต่างกันอย่างที่ เบน เกรแฮม อาจารย์ของบัฟเฟต์เคยกล่าวไว้ “ราคาคือส่ิงที่คุณจ่าย คุณค่าคือสิ่งที่คุณได้รับ”
ข้อ 5: ต้องเข้าใจเครื่องมือในการวิเคราะห์ทางการเงินก่อนนำมาใช้
การ เข้าใจเครื่องมือเหล่านี้อย่างครึ่งๆกลางๆอาจจะทำให้เราประสบกับปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น P/E หรือ อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น เราต้องเข้าใจว่า P/E ต่ำไม่ได้แปลว่าดีกว่าเสมอไป เราต้องรู้ว่า “กำไรต่อหุ้น” นั้นมีที่มายังไง (ย้อนหลังหรือปีปัจจุบัน เป็นกำไรพิเศษหรือกำไรจากการดำเนินงาน) และปัจจัยใดบ้างที่จะมีผลต่อค่า P/E เหล่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นอะไรที่ซับซ้อนและอาจจะใช้เวลาในการเรียนรู้ซักระยะ แต่ถ้าอยากจะเรียนทางลัดการเข้าอบรมหรือการหาหนังสือดีๆมาอ่านก็จะช่วยได้ ผมอยากให้คอยถามตัวเองทุกครั้งก่อนนำตัวเลขทางการเงินไปใช้ว่า “ตัวเลขนี้จริงๆแล้วคืออะไร?” “มีอะไรซ่อนอยู่ในตัวเลขนี้รึเปล่า?”  “ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อตัวเลขเหล่านี้?”
ข้อ 6: ต้องรู้จักเรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
พี่ Web พรชัยเคยพูดไว้ว่า “ถ้าไม่อ่าน ถ้าไม่ศึกษา ออกจากตลาดไปเลยดีกว่า” ผมว่าคำพูดนี้ไม่ได้กล่าวเกินจริงเลย เพราะถ้าเราสังเกตดูนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จเกือบทุกคนมีนิสัยเป็นนักอ่านตัวยงทั้งนั้น บัฟเฟต์ ปีเตอร์ ลินช์ เกรแฮม ดร.นิเวศน์ การที่คนเหล่านี้อ่านเยอะก็เพราะเค้าเชื่อว่า “ข้อมูลคือขุมทรัพย์” หน้าที่หลักของนักลงทุนคือการตัดสินใจ และการมีฐานความรู้ที่กว้างและลึกจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องมาก ขึ้นในระยะยาว
ข้อ 7: ฝึกการควบคุมตนเอง
เนื่องจาก การซื้อขายหุ้นทำได้ง่ายมาก การควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ไม่ไปทำอะไรที่ไม่ควรทำจะมีประโยชน์อย่างมาก การจด Investment Diary (จดบันทึกการลงทุนของเรา ว่าลงทุนตัวไหน เมื่อไหร่ เพราอะไร) การไม่ตามข่าวตามตลาดจนบ่อยเกินไป และการนั่งสมาธิเป็นประจำก็จะช่วยให้เราแยกแยะ “อารมณ์” ออกจาก “เหตุผล” ได้ง่ายขึ้น
(พี่คนขายของเคยแนะนำว่าการนั่งสมาธิวันละ 5 นาทีจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนดีขึ้น ผมนำมาลองใช้ดูแล้วพบว่านอกจากจะทำให้เรา “นิ่ง” ขึ้นแล้วยังช่วยให้เราเครียดน้อยลง มีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่ายขึ้นด้วยครับ)
ข้อ 8: มีความสุขในการลงทุน
ผม เชื่อว่าถ้าเราได้ทำในสิ่งที่รัก (ฉันทะ หรือ Passion) เราก็จะทำมันอย่างเต็มที่ ตั้งใจ และก็จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาดีขึ้น การลงทุนก็ไม่ต่างกัน จะทำผลตอบแทนให้ดีต้องมีความสุขกับการลงทุน แต่นักลงทุนหลายคนกลับมองเพียงว่าจะหาเงินให้ได้เยอะๆอย่างไร แต่สุดท้ายก็ต้องมานั่งเครียดจนไม่มีอันจะกินทุกครั้งเวลาหุ้นที่ซื้อไว้ ปรับตัวลง
ความสุขจากการลงทุนเกิดจากการที่เรามี “แนวทางในการลงทุน” ที่เหมาะกับตัวเรา บางคนชอบความตื่นเต้นเร้าใจก็จะชอบซื้อๆขายๆ บางคนชอบความมั่นคงอาจจะชอบลงทุนในกิจการที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง การได้ลงทุนในแนวทางที่เหมาะกับตัวเองจะช่วยให้เครียดน้อยลง ทำผลงานได้ดีขึ้น และที่สำคัญที่สุด จะทำให้เรามีความสุขในชีวิตมากขึ้น
สุดท้ายแล้วที่เราอยากมีเงินเยอะๆก็เพราะอยากจะมีความสุขไม่ใช่เหรอครับ?
ถ้าใครอ่านแล้วคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ผมก็อยากให้ช่วยกันแชร์ ช่วยกันแบ่งปันให้เพื่อนๆที่สนใจการลงทุนครับ ถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็โพสถามได้นะครับ ถ้านักลงทุนท่านไหนอยากจะแบ่งปันไอเดียดีๆให้กับน้องๆมือใหม่ในวงการก็เรียน เชิญครับ ถือว่าช่วยๆกันครับ ขอบคุณมากๆครับ

from http://goo.gl/vUR8Zv

จะถือหุ้นกี่ตัวในพอร์ตดี?

ใน Meeting ของ Road to Billion ที่ผ่านมามีคนถามคุณสุมาอี้กับผมว่า “ควรจะมีหุ้นซักกี่ตัวดี?” คำถามนี้คงเป็นเรื่องที่ค้างคาใจนักลงทุนหลายท่านเพราะในงานสัมมนาแทบทุกครั้ง ผมมักจะได้ยินคนถามคำถามนี้ ผมก็เลยได้โอกาสไปค้นคว้าหาแง่มุมต่างๆมาแลกเปลี่ยนกับผู้อ่าน เป็นการลองบิดกุญแจไขปัญหาที่ค้างคาอยู่ในหน้าอก (ข้างซ้าย) ของนักลงทุนทุกท่าน
แต่ก่อนจะตอบว่ามีหุ้นกี่ตัวดี เราควรจะถามก่อนว่าจำนวนหุ้นที่เราถือจะมีผลยังไงต่อพอร์ตและชีวิตของเราบ้าง
1. หุ้นเยอะ ต้องการเวลาแยะ
ปี เตอร์ ลินช์ เคยพูดว่า “หุ้นก็เหมือนกับลูก มีเท่าที่คุณพอจะดูแลเค้าได้ก็พอ” เดี๋ยวคนไทยส่วนมากมีลูกแค่คนเดียวหรืออย่างมากก็สองคน ลองนึกภาพมีลูกซัก 10 คนเหมือนสมัยก่อนคงจะตลกพิลึก แต่ “หุ้น” ต่างกับ “ลูก” ตรงที่ว่าหุ้นของแต่ละคนอาจจะต้องการเวลาในการดูแลต่างกัน ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
เราต้องตามงบเป็นรายไตรมาสหรือเปล่า?
เราจำเป็นต้องเฝ้าราคาหุ้นหรือเปล่า?
เรารู้จักอุตสาหกรรมหรือหุ้นตัวนั้นดีแค่ไหน?
เรามีประสบการณ์ในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน?
หุ้นที่เราถือในพอร์ตมีความคล้ายคลึงกันแค่ไหน?
ส่วน ตัวแล้วผมยังไม่มีลูก แต่ก่อนที่ผมจะตัดสินใจลงทุน ผมจะใช้เวลาศึกษาหุ้นแต่ละตัวเยอะมาก และถ้าตัดสินใจแล้วก็จะไม่ได้ใช้เวลาในการตามเท่าไหร่ (อาจจะมีตามงบรายไตรมาสบ้าง แต่ก็แค่ปีละ 4 หน) ก็เลยสามารถดูแลหุ้นได้ประมาณ 8 – 10 ตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผมจะถือเท่านั้นนะครับ มันเป็นแค่แนวทางเฉยๆ ผมอาจจะมีหุ้นมากกว่านั้นได้ถ้าหุ้นพวกนั้นไม่ต้องการเวลาจากผมมากหรือไม่มี นัยสำคัญกับพอร์ต
2. จำนวนหุ้นน้อย ความเสี่ยงกระจุกตัว
คุณสุ มาอี้เคยพูดว่า “ถึงหุ้นจะดีแค่ไหนมันก็มีโอกาสจะพลาดได้” โดยส่วนตัว ถึงแม้หุ้น “ร้านค้าห้องแถว” จะดีอย่างไร จะมีความสามารถในการแข่งขันเยอะแค่ไหน เติบโตได้ไกลเท่าไหร่ ผมก็คงนอนไม่ค่อยหลับถ้าจำเป็นต้องถือหุ้นตัวนั้นเพียงตัวเดียว เพราะหุ้นทุกตัวย่อมมีความเสี่ยง แต่ถ้าในทางตรงกันข้ามพอร์ตผมมีหุ้น 50 ตัว ผมก็ไม่รู้ว่าจะผมตื่นขึ้นมาหาหุ้นใหม่ๆไปทำไมเหมือนกัน เพราะไม่ว่าจะเลือกถูกหรือเลือกผิดมันก็ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อพอร์ตซักเท่า ไหร่
เบนจามิน เกรแฮม เคยบอกไว้ว่าเราจะสามารถได้ประโยชน์จากการ “กระจายความเสี่ยง” ถ้าเรามีหุ้น 10 – 30 ตัวในพอร์ตเรา แต่ในขณะที่ปีเตอร์ ลินช์ และบัฟเฟต์ เคยพูดว่าหุ้น 5 ตัวก็น่าจะเพียงพอแล้ว
แล้วเราจะมีกี่ตัวดี?
วิธี คิดแบบง่ายๆในการประเมินระดับความเสี่ยงที่เรารับได้: สมมติว่าเราถือหุ้น 5 ตัว แสดงว่าแต่ละตัวจะมีน้ำหนัก 20% ของพอร์ตโดยเฉลี่ย ถ้าหุ้นตัวใดตัวหนึ่งปรับตัวลง 30% พอร์ตคุณจะลดลงประมาณ 6% คุณรับกับมันได้รึเปล่า?(ถ้าคุณมีระบบ cut loss คุณอาจจะใช้ตัวเลข 5% 10% แล้วแต่ระบบของคุณเพื่อนำมาคำนวณความเสี่ยงได้) ลองคำนวณเล่นๆดูครับ ปรับไปปรับมาก็จะเจอตัวเลขที่เราคิดว่าเหมาะสมครับ
3. ผลตอบแทนที่เราจะได้รับ?
ผม เคยได้ยินนักลงทุนหลายท่านบอกว่า “จำนวนหุ้นที่น้อยกว่า” จะทำให้เราได้ “ผลตอบแทนที่ดีขึ้น” แต่ถ้าเราลองมาคิดดูดีๆจะพบว่าเรา “อาจจะ” ได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น “ถ้า” เราเลือกหุ้นได้ถูกตัว เพราะฉะนั้นการถือหุ้นจำนวนน้อยตัวหรือแบบ Focus จะมีประโยชน์มากกว่าสำหรับนักลงทุนที่พอจะมีความสามารถระดับหนึ่งแล้ว แต่สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่หรือนักลงทุนที่ยังลองผิดลองถูกอยู่อย่างผม การถือแบบ Focus อาจจะไม่ได้ให้ผลประโยชน์เท่ากับนักลงทุนที่เก่งๆและยังอาจจะเพิ่มความ เสี่ยงให้กับพอร์ตมากกว่าการถือหุ้นหลายๆตัว
ผมสังเกตว่านักลงทุนหน้า ใหม่บางท่านชอบอัดเงินทั้งพอร์ตเข้าไปซื้อ “หุ้นเด็ด” โดยไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ พูดอีกอย่างคือเล่นหุ้นแบบ “แทงหวย” คนแบบนี้ส่วนมากก็มักจะถูกเจ้ามือหวยกินเรียบจนหลายคนขยาดการลงทุนไปเลย
ใน อีกมุมนึง ปีเตอร์ ลินช์ เคยบอกไว้ว่าเค้าไม่รู้หรอกว่าหุ้นตัวไหนจะกลายเป็นหุ้น 5 เด้ง 10 เด้ง เพราะฉะนั้นการมีหุ้นเยอะๆก็อาจจะเหมือนการซื้อลอตเตอรี่ ถ้าเราซื้อหลายๆใบก็อาจจะมีโอกาสถูกมากกว่า ฉะนั้นในบางครั้งการถือหุ้นหลายๆตัว (ที่ผ่านการคัดกรองมาแล้ว) ก็อาจจะดีกว่าการใช้เวลาไปกับการเลือกหุ้นเพียงตัวเดียวที่จะให้ผลตอบแทน สูงสุดก็ได้ครับ เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าไอเดียการลงทุนของเราอันไหนจะออกดอกออกผล
นอกจาก ปัจจัยที่ต้องพิจารณาทั้งสามข้อแล้ว จำนวนหุ้นที่ถืออาจจะต้องเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นถ้าคุณมีพอร์ตขนาดใหญ่หรือ ลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องน้อย และอาจจะลดลงได้ถ้าคุณมีหุ้นที่คุณชอบและมั่นใจมากๆ (อย่าลืมว่าทุกคนมีโอกาสที่จะผิด) จะว่าไปการปรับสัดส่วนหุ้นในพอร์ตก็อาจจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการ ตัดสินใจ คงจะไม่มีสูตรตายตัว
สุดท้ายแล้วใครจะมี “ลูก” กี่คนก็แล้วแต่จะเลือกเลยครับ ตามจริตและความสามารถของแต่ละคน ถ้าอยากจะมีลูกเยอะก็อาจจะต้องเหนื่อยหน่อย แต่ก็อุ่นใจเพราะเวลาแก่ตัวไปจะได้ไม่เหงาครับ 555
คนอื่นๆถือหุ้นกันกี่ตัวครับ? มีหลักอะไรในการคิดบ้าง? มาแลก

from http://goo.gl/BxAB8P

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (All Time)